วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

อาเซียน


กำเนิดอาเซียน
     อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)
     ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
    วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก

สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน
รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ
สีเหลือง  หมายถึง  ความเจริญรุ่งเรือง 
สีแดง  หมายถึง  ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
สีขาว  หมายถึง  ความบริสุทธิ์ 
สีน้ำเงิน  หมายถึง  สันติภาพและความมั่นคง

กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
   ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่ประเทศสิงค์โปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตร  อาเซียนซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Organization)
กฎบัตรอาเซียน ประกอบด้วยข้อบทต่าง ๆ 13 บท 55 ข้อ มีประเด็นใหม่ที่แสดงความก้าวหน้าของอาเซียน ได้แก่
     (1) การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน
     (2) การให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนสอดส่องและรายงานการทำตามความตกลงของรัฐสมาชิก
     (3) การจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาทต่าง ๆ ระหว่างประเทศสมาชิก
     (4) การให้ผู้นำเป็น ผู้ตัดสินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง
     (5) การเปิดช่องให้ใช้วิธีการอื่นในการตัดสินใจได้หากไม่มีฉันทามติ
     (6) การส่งเสริมการปรึกษาหารือกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อผลประโยชน์ร่วม
     (7) การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที
     (8) การเปิดช่องทางให้อาเซียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภาคประชาสังคมมากขึ้น และ
     (9) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครั้งต่อปี จัดตั้งคณะมนตรีเพื่อประสานความร่วมมือในแต่ละ 3 เสาหลัก และการมีคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการประชุมของอาเซียน เป็นต้น
    กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 หลังจากที่ประเทศสมาชิกครบทั้ง 10 ประเทศ ได้ให้สัตยาบันกฎบัตร และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552 ที่จังหวัดเพชรบุรีเป็นการประชุมระดับผู้นำอาเซียนครั้งแรกหลังจากกฎบัตรมีผลบังคับใช้

 ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)
ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ
        ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community–APSC)
        ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community–AEC)
        ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community–ASCC)
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
(ASEAN Political and Security Community – APSC)
           มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้ง โดยสันติวิธี อาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint) โดยเน้นใน 3 ประการ คือ
          1) การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะร่วมกันทำเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคมวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก ส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หลักการประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านการทจริต การส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล เป็นต้น
          2) ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้านครอบคลุมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในรูปแบบเดิม มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการระงับข้อพิพาท โดยสันติเพื่อป้องกันสงครามและให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยกัน โดยสงบสุขและไม่มีความหวาดระแวง และขยายความร่วมมือเพื่อต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติต่าง ๆ เช่น ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและจัดการภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ
          3) การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก เพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาค เช่น กรอบอาเซียน+3 กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับมิตรประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ

2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(ASEAN Political-Security Community-AEC)
          มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน  เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี อาเซียนได้จัดทำแผนงาน การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน คือ
         1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base) โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น

         2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับประเด็นนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน)
         3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่าง ๆ
         4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาคเพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
(ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)
          อาเซียนได้ตั้งเป้าเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี 2558 โดยมุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน (ASEAN Identity)
เพื่อรองรับการเป็นประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน โดยได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint)ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่
      1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
      2) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม
      3) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม
      4) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
      5) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
      6) การลดช่องว่างทางการพัฒนา
     ทั้งนี้โดยมีกลไกการดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขาระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรีและคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน สาระสำคัญของปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือ
          ด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปันปฏิญญาชะอำ-หัวหินว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน  เน้นย้ำถึงบทบาทของการศึกษาในการสร้างประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 อันประกอบด้วย 3 เสาหลัก ดังนี้
1. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาการเมืองและความมั่นคง
          สนับสนุนความเข้าใจและความตระหนักรับรู้เรื่องกฎบัตรอาเซียนให้มากขึ้นโดยผ่านหลักสูตรอาเซียน ในโรงเรียนและเผยแพร่กฎบัตรอาเซียนที่แปลเป็นภาษาต่างๆ ของชาติ ในอาเซียนให้เน้นในหลักการแห่งประชาธิปไตยให้มากขึ้น เคารพในสิทธิมนุษยชนและค่านิยมในเรื่องแนวทางที่สันติภาพในหลักสูตรของโรงเรียนสนับสนุน ความเข้าใจและความตระหนักรับรู้ใน ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อในภูมิภาคในหมู่อาจารย์ผ่านการฝึกอบรม โครงการแลกเปลี่ยน และการจัดตั้งข้อมูลพื้นฐานออนไลน์เกี่ยวกับเรื่องนี้จัดให้มีการประชุมผู้นำโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอในฐานะที่เป็นพื้นฐานสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นในภูมิภาคอาเซียนที่หลากหลาย การสร้างศักยภาพและเครือข่าย รวมทั้งยอมรับการดำรงอยู่ของเวทีโรงเรียนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia School Principals’ Forum: SEA-SPF)
2. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาเศรษฐกิจ
         พัฒนาพัฒนากรอบทักษะภายในประเทศของแต่ละประเทศสมาชิกเพื่อช่วยสนับสนุนการมุ่งไปสู่การจัดทำการยอมรับทักษะในอาเซียนสนับสนุนการขับเคลื่อนของนักเรียนนักศึกษาให้ดีขึ้นโดยการพัฒนาบัญชีรายการระดับภูมิภาคของอุปกรณ์สารนิเทศด้านการศึกษาที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจัดหาได้สนับสนุนการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือในภูมิภาคอาเซียน โดยผ่านกลไกความร่วมมือในระดับภูมิภาคระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งจะต้องดำเนินควบคู่ไปกับความพยายามในการปกป้องและปรับปรุงมาตรฐานทางด้านการศึกษาและวิชาชีพพัฒนามาตรฐานด้านอาชีพบนพื้นฐานของความสามารถในภูมิภาคอาเซียนโดยมุ่งไปที่การสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก และเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมโดยประสานกับกระบวนการกรอบการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านแรงงาน
3. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาสังคมและวัฒนธรรม
        พัฒนาเนื้อหาสาระร่วมในเรื่องอาเซียนสำหรับโรงเรียนเพื่อใช้เป็นตัวอ้างอิงสำหรับการฝึกอบรมและการสอนของครูอาจารย์เสนอให้มีหลักสูตรปริญญาด้านศิลปวัฒนธรรมอาเซียนในมหาวิทยาลัยเสนอให้มีภาษาประจำชาติอาเซียน ให้เป็นภาษาต่างประเทศวิชาเลือกในโรงเรียนสนับสนุนโครงการระดับภูมิภาคที่มุ่งเน้นที่การส่งเสริมการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนให้แก่เยาวชนรับรองการมีอยู่ของโครงการอื่นๆ เช่น การนำเที่ยวโรงเรียนอาเซียน โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนนักศึกษาอาเซียน การประชุมเยาวชนอาเซียนด้านวัฒนธรรม การประชุมสุดยอดเยาวชนนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยอาเซียน การประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน และการประกวดสุนทรพจน์ระดับเยาวชน สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตในประเทศสมาชิกอาเซียนโดยการสนับสนุนการศึกษาสำหรับ
ทุกคนจัดให้มีการประชุมวิจัยทางด้านการศึกษาอาเซียนเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางการวิจัยและพัฒนาในภูมิภาคให้เป็นเวทีสำหรับนักวิจัยจากประเทศสมาชิกเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองในประเด็นและเรื่องที่เกี่ยวข้องของภูมิภาคสนับสนุนความเข้าใจและการตระหนักรับรู้ในประเด็นและเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคอาเซียนโดยการบูรณาการให้อยู่ในหลักสูตรในโรงเรียน และการมอบรางวัล
โรงเรียนสีเขียวอาเซียนเฉลิมฉลองวันอาเซียน (วันที่ 8 สิงหาคม)ในโรงเรียนโดยเฉพาะในเดือนสิงหาคมผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การร้องเพลงชาติอาเซียน การจัดการแข่งขันเรื่องประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอาเซียนการจัดแสดงเครื่องหมาย และสัญลักษณ์อื่นๆ ของอาเซียน การจัดค่ายเยาวชนอาเซียน เทศกาลเยาวชนอาเซียนและวันเด็กอาเซียนเห็นชอบที่จะเสนอในรัฐสมาชิกอาเซียน
แบ่งปันทรัพยากรแก่กัน และพิจารณาการจัดตั้งกองทุนพัฒนาด้านการศึกษาของภูมิภาคเพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินอย่างเพียงพอในการปฏิบัติการต่าง ๆได้ตามที่ได้รับการเสนอแนะมามอบหมายให้ องค์กรระดับรัฐมนตรีรายสาขาของอาเซียนเกี่ยวข้องและเลขาธิการอาเซียนดำเนินการปฏิบัติตามปฏิญญานี้โดยการให้แนวทางและสนับสนุนแผน 5 ปีของอาเซียนว่าด้วยเรื่องการศึกษา

         รวมทั้งข้อตกลงในการควบคุมดูแลที่ได้รับการสนับสนุนโดยคณะกรรมการผู้แทนถาวรและรายงานต่อที่ประชุม สุดยอดอาเซียนเป็นประจำผ่านคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนทราบผลการคืบหน้าของการดำเนินการปฏิญาณว่าความมุ่งมั่นและข้อผูกพันของผู้นำอาเซียนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาเพื่อให้เกิดประชาคมอาเซียนที่มีการเคลื่อนไหวประชาคมที่มีความเชื่อมโยงกันและประชาคมของประชาชนอาเซียนและเพื่อประชาชนอาเซียน
นโยบายกระทรวงศึกษาธิการในการดำเนินการด้านการศึกษาตามปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน
          จากการประชุมคณะกรรมการระดับชาติเพื่อขับเคลื่อนการศึกษาในอาเซียนสู่การบรรลุเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2558 เมื่อวันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม 2553 ณ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน และผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ผู้อำนวยการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนและผู้แทนกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบร่างนโยบายเพื่อดำเนินงานตามปฏิญญาชะอำ-หัวหินด้านการศึกษา จำนวน 5 นโยบาย ดังนี้
         นโยบายที่ 1 การเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับอาเซียน เพื่อสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมของครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา และประชาชน เพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558
         นโยบายที่ 2  การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนให้มีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวประชาคมอาเซียน เช่น ความรู้ภาษาอังกฤษ ภาษาเพื่อนบ้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะและความชำนาญการที่สอดคล้องกับการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรม และการเพิ่มโอกาสในการหางานทำของประชาชน รวมทั้งการพิจารณาแผนผลิตกำลังคน
         นโยบายที่ 3  การพัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อส่งเสริมการหมุนเวียนของนักศึกษาและครูอาจารย์ในอาเซียน รวมทั้งเพื่อให้มีการยอมรับในคุณสมบัติทางวิชาการร่วมกันในอาเซียน การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และการแลกเปลี่ยนเยาวชน การพัฒนาระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งช่วยสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต การส่งเสริมและปรับปรุงการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมทางอาชีพ ทั้งในขั้นต้นและขั้นต่อเนื่อง ตลอดจนส่งเสริมและเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาของประเทศสมาชิกของอาเซียน
         นโยบายที่ 4  การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเสรีการศึกษาในอาเซียนเพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนประกอบด้วย การจัดทำความตกลงยอมรับร่วมด้านการศึกษา การพัฒนาความสามารถ ประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพสำคัญต่างๆ เพื่อรองรับการเปิดเสรีการศึกษาควบคู่กับการเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน
         นโยบายที่ 5  การพัฒนาเยาวชนเพื่อเป็นทรัพยากรสำคัญในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
ประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Member States)

เนการาบรูไนดารุสซาลาม : Negara Brunei Darussalam
การปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาเลาะห์
เมืองหลวง : บันดาร์เสรีเบกาวัน
ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์, ภาษาอาหรับ
หน่วยเงินตรา : บรูไนดอลลาร์
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofat.gov.bn/

ราชอาณาจักรกัมพูชา : Kingom of Cambodia
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษาราชการ : ภาษาเขมร
หน่วยเงินตรา : เรียล
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfaic.gov.kh

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย : Republic of Indonesia
การปกครอง : ระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย
ประมุข : พลโทซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน
เมืองหลวง : กรุงจาการ์ตา
ภาษาราชการ : ภาษาบาร์ฮาซา, ภาษาอินโดนีเซีย
หน่วยเงินตรา : รูเปียห์
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.kemlu.go.id

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : The Loa People's Democratic Republic
การปกครอง : ระบอบสังคมนิยม
ประมุข : พลโทจูมมะลี ไซยะสอน
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทน์
ภาษาราชการ : ภาษาลาว
หน่วยเงินตรา : กีบ
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.la

มาเลเซีย : Malaysia
การปกครอง : สหพันธรัฐ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซอม ซาร์
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์
หน่วยเงินตรา : ริงกิต
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.kln.gov.my

สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ : Republic of the Union of the Myanmar
การปกครอง : ระบบประธานาธิบดี
ประมุข : พลเอกเต็ง เส่ง
เมืองหลวง : นครเนปิดอร์
ภาษาราชการ : ภาษาพม่า
หน่วยเงินตรา : จั๊ต
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.mm

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ : Republic of the Philippine
การปกครอง : สาธารณรัฐเดี่ยวระบบประธานาธิบดี
ประมุข : เบนิกโน อากีโน ที่ 3
เมืองหลวง : กรุงมะลิลา
ภาษาราชการ : ภาษาตากาล๊อก, ภาษาอังกฤษ
หน่วยเงินตรา : เปโซ
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.dfa.gov.ph

สาธารณรัฐสิงคโปร์ : Republic of Singapore
การปกครอง : ระบบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : โทนี ตัน เค็ง ยัม
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษาราชการ : ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีนกลาง, ภาษามาเลย์, ภาษาทมิฬ
หน่วยเงินตรา : ดอลล่าร์สิงคโปร์
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfa.gov.sg

ราชอาณาจักรไทย : Kingdom of Thailand
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เมืองหลวง  กรุงเทพมหานคร
ภาษาราชการ : ภาษาไทย
หน่วยเงินตรา : บาท
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfa.go.th

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม : Socialist Republic of Vietnam
การปกครอง : ระบอบสังคมนิยมเวียดนาม
ประมุข : เจือง เติ๋น ซาง
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษาราชการ : ภาษาเวียดนาม
หน่วยเงินตรา : ด่อง
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.vn

สัญลักษณ์อาเซียนสื่อความหมายใดบ้าง
รูปรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมวีขาวและสีน้ำเงินรวงข้าว 10 ต้น มัดรวมกันไว้ หมายถึง ประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกัน
สีน้ำเงิน  หมายถึง   สันติภาพและความมั่นคง
สีแดง     หมายถึง   ความกล้าหาญ และความก้าวหน้า
สีขาว      หมายถึง   ความบริสุทธิ์
สีเหลือง  หมายถึง   ความเจริญรุ่งเรือง
3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน ประกอบด้วยความร่วมมือด้านใดบ้าง
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ตั้งอยู่ที่ใด
- กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
อาเซียนตั้งเป้าหมายที่บรรลุประชาคมอาเซียนโดยสมบูรณ์ในปีใด
- ปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)

กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร
- กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) คือ ธรรมนูญอาเซียนที่จะมีการวางกรอบของกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการขับเคลื่อนเพื่อการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2015 (พ.ศ.2558) เพื่อให้อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลในภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพมีประชาชนเป็นศูนย์กลางและเคารพในกติกาการทำงานระหว่างกันมากยิ่งขึ้น


บทเพลง อาเซียน
ภาษาอังกฤษ
คำแปล
เนื้อร้องภาษาไทยอย่างเป็นทางการ
Raise our flag high, sky high.
Embrace the pride in our heart.
ASEAN we are bonded as one.
Look'in out to the world.
For peace our goal from the very start
And prosperity to last.
We dare to dream,
We care to share.
Together for ASEAN.
We dare to dream,
We care to share
For it's the way of ASEAN.
ชูธงเราให้สูงสุดฟ้า
โอบเอาความภาคภูมิไว้ในใจเรา
อาเซียนเราผูกพันเป็นหนึ่ง
มองมุ่งไปยังโลกกว้าง
สันติภาพ คือเป้าหมายแรกเริ่ม
ความเจริญ คือปลายทางสุดท้าย
เรากล้าฝัน
และใส่ใจต่อการแบ่งปัน
ร่วมกันเพื่ออาเซียน
เรากล้าฝัน
และใส่ใจต่อการแบ่งปัน
นี่คือวิถีอาเซียน
พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด
ใต้หมู่ธงปลิวไสว
สัญญาณแห่งสัญญาทางใจ
วันที่เรามาพบกัน
อาเซียนเป็นหนึ่งดังที่ใจเราปรารถนา
เราพร้อมเดินหน้าไปทางนั้น
หล่อหลอมจิตใจ
ให้เป็นหนึ่งเดียว
อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์
ให้สังคมนี้
มีแต่แบ่งปัน
เศรษฐกิจมั่นคงก้าวไกล
หมายเหตุ: คำแปลภาษาไทยในที่นี้ไม่ใช่คำแปลอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด

เกร็ดความรู้อาเซียน
ASEAN (อาเซียน) ย่อมาจาก Association of Southeast Asian Nations หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ประกอบด้วย 10 ประเทศ คือ
           1. กัมพูชา
           2. ไทย
           3. บรูไนดารุสซาลาม
           4. พม่า
           5. ฟิลิปปินส์
           6. มาเลเซีย
           7. ลาว
           8. สิงคโปร์
           9. เวียดนาม
           10. อินโดนีเซีย
เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของอาเซียน
        1) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
        2) เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
        3) เพื่อเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
        4) เพื่อเสริมสร้างให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
        5) เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปแบบของการฝึกอบรมและการวิจัยและส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
        6) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
        7) เพื่อส่งเสริมความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ
อาเซียน +3 และ อาเซียน +6 คืออะไร ?
อาเซียน +3 คือ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และ 3 ประเทศนอกอาเซียน ได้แก่
           1) จีน
           2) ญี่ปุ่น
           3) เกาหลีใต้
อาเซียน +6 คือ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และ 6 ประเทศนอกอาเซียน ได้แก่
           1) จีน
           2) ญี่ปุ่น
           3) เกาหลีใต้
           4) ออสเตรเลีย
           5) นิวซีแลนด์
           6) อินเดีย
7 วิชาชีพที่สามารถย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรีในประชาคมอาเซียน
            1. แพทย์
            2. ทันตแพทย์
            3. นักบัญชี
            4. วิศวกร
            5. พยาบาล
            6. สถาปนิก
            7. นักสำรวจ
อาหารยอดนิยมในอาเซียน (1) 

อัมบูยัต”(Ambuyat)
ambuyat-set
อาหารยอดนิยมของประเทศบรูไนดารุสซาลาม 
       มีลักษณะเด่นคือ เหนียวข้นคล้ายข้าวต้มหรือโจ๊ก ไม่มีรสชาติ มีแป้งสาคูเป็นส่วนผสมหลัก วิธีทานจะใช้แท่งไม้ไผ่ 2 ขาซึ่งเรียกว่า chandas ม้วนแป้งรอบๆ แล้วจุ่มในซอสผลไม้เปรี้ยวที่เรียกว่า cacah หรือซอสที่เรียกว่า cencalu ซึ่งทำจากกะปิ ทานคู่กับเครื่องเคียงอีก 2-3 ชนิด เช่น เนื้อห่อใบตองย่าง เนื้อทอด เป็นต้น การรับประทานอัมบูยัตให้ได้รสชาติ ต้องทานร้อนๆ และกลืน โดยไม่ต้องเคี้ยว
ambuyat01
อาหารยอดนิยมในอาเซียน (2)
อาม็อก”(Amok)
fish-amok
อาหารยอดนิยมของประเทศกัมพูชา 
        มีลักษณะคล้ายห่อหมกของไทย นิยมใช้เนื้อปลาปรุงด้วยน้ำพริก เครื่องแกงและกะทิ ทำให้สุกโดยการนำไปนึ่ง อาจใช้เนื้อไก่หรือหอยแทนได้ แต่ที่นิยมใช้เนื้อปลาเพราะหาได้ง่าย
amokincoconut
อาหารยอดนิยมในอาเซียน (3)
กาโด กาโด”(Gado Gado)
gado-gado
อาหารยอดนิยมของอินโดนีเซีย 
     อาหารสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ ประกอบไปด้วยผักและธัญพืช เช่น มันฝรั่ง กะหล่ำปลี ถั่วงอก ถั่วเขียว เสริมโปรตีนด้วยเต้าหู้และไข่ต้ม รับประทานคู่กับซอสถั่วที่คล้ายกับซอสสะเต๊ะ ซึ่งใกล้เคียงกับสลัดแขก ของประเทศไทย
photo_-gado_gado
อาหารยอดนิยมในอาเซียน (4)
ซุปไก่”(Chicken Soup)
soup
อาหารยอดนิยมของลาว 
       แกงรสชาติหวานอร่อยกลมกล่อม ที่มีส่วนผสมสำคัญ ได้แก่ ตะไคร้ ใบสะระแหน่ กระเทียม หอมแดง รวมถึงรสชาติเปรี้ยว เผ็ด จากมะนาวและพริก รับประทานร้อนๆ กับข้าวเหนียว ได้คุณค่าทางโภชนาการอาหารและความอร่อยไปพร้อมๆ กัน
soup01
มรดกโลกในอาเซียน (1)

 "อ่าวฮาลอง" (Halong Bay)
halong_bay
      อ่าวฮาลอง (Vịnh Hạ Long) หรือ ฮาลอง เบย์ (Halong Bay) เป็นอ่าวแห่งหนึ่งในพื้นที่ของอ่าวตังเกี๋ยทางตอนเหนือของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ใกล้ชายแดนติดต่อกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ชื่อในภาษาเวียดนาม หมายถึง "อ่าวแห่งมังกรผู้ดำดิ่ง"
      อ่าวฮาลองมีเกาะหินปูนจำนวน 1,969 เกาะ โผล่พ้นขึ้นมาจากผิวทะเล บนยอดของแต่ละเกาะมีต้นไม้ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น หลายเกาะมีถ้ำขนาดใหญ่อยู่ภายใน เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบริเวณอ่าว 2 เกาะ คือ เกาะกัดบา และเกาะ Tuan Chau ทั้งสองเกาะนี้มีคนตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างถาวร มีโรงแรมและชายหาดจำนวนมากคอยให้บริการนักท่องเที่ยว บางเกาะเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวประมง และบางเกาะยังเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์หลายชนิด เช่น ไก่ป่า ละมั่ง ลิง และกิ้งก่าหลายชนิด เกาะเหล่านี้มักจะได้รับการตั้งชื่อจากรูปร่างลักษณะที่แปลกตา เช่น เกาะช้าง (Voi Islet) เกาะไก่ชน (Ga Choi Islet) เกาะหลังคา (Mai Nha Islet) เป็นต้น
      อ่าวฮาลองได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537
ล้วยไม้ซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุดในประเทศสิงคโปร์ โดยตั้งชื่อตามผู้ผสมพันธุ์ มีสีม่วงและรูปลักษณ์ที่สวยงาม


"ภาษาบอกรัก" ในอาเซียน
     เนื่องในวันแห่งความรัก (14 ก.พ.) หรือวันวาเลนไทน์ เกร็ดความรู้อาเซียน ขอเสนอ ภาษาบอกรักของประเทศต่างๆ ในอาเซียน และยังสามารถใช้บอกกับทุกคนที่คุณรักได้อีกด้วย 
ภาษาไทย                 - ฉันรักเธอ
ภาษาลาว                 - ข้อยฮักเจ้า
ภาษาพม่า                - จิต พา เด (chit pa de)
ภาษาเวียดนาม          - ตอย ยิ่ว เอ๋ม (Toi yue em)
ภาษาเขมร               - บอง สรัน โอง (Bon sro Ianh oon)
ภาษามาเลย์              - ซายา จินตามู (Saya cintamu)
ภาษาอินโดนีเซีย        - ซายา จินตา ปาดามู (Saya cinta padamu)
ภาษาตากาล็อก          - มาฮัล กะ ตา (Mahal ka ta)
ภาษาจีนกลาง           - หว่อ อ้าย หนี่ (Wo ai ni)
ภาษาญี่ปุ่น               - ไอ ชิเตรุ (Ai shiteru)
ภาษาเกาหลี             - ซารัง แฮโย (Sarang Heyo)
มรดกโลกในอาเซียน (2)

อุทยานแห่งชาติกูนุงมูลู (Gunung Mulu National Park)
       เป็นอุทยานที่ตั้งอยู่ในบนเกาะบอร์เนียว รัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย ติดกับชายแดนของประเทศบรูไน เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายในด้านชีววิทยาและธรณีวิทยาเป็นอย่างมาก มีพันธุ์พืชกว่า 3,500 ชนิด และมีพันธุ์ปาล์มกว่า 109 ชนิด ในด้านธรณีวิทยาเป็นภูมิประเทศแบบ Karst หรือภูมิประเทศแบบหินปูน มีพื้นที่สูงๆ ต่ำๆ หน้าผาสูงชัน ยอดแหลม มักพบรอยแตกกว้างซึ่งกลายเป็นถ้ำในแนวดิ่งหรือแนวเฉียง ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นโพรงยาว ปากถ้ำแคบ ภายในถ้ำกว้าง ผนังและเพดานถูกปกคลุมด้วยหินงอกหินย้อย และเกิดถ้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ในอุทยานแห่งนี้ คือ ถ้ำซาราวัค แซมเบอร์” (Sarawak chamber) ซึ่งมีความยาว 700 เมตร กว้าง 396 เมตร และสูง 80 เมตร คำนวณพื้นที่แล้วสามารถบรรจุเครื่องบิน Boeing 747 จำนวนหลายลำได้เลยทีเดียว
      อุทยานแห่งชาติกุนุงมูลู ได้รับการลงทะเบียนมรดกโลก ในปี พ.ศ. 2543
มรดกโลกในอาเซียน (3)
     เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง เป็นสถานที่ธรรมชาติแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียออกเฉียงใต้ที่ได้เป็นมรดกโลกในปี พ.ศ.2534 ประกอบด้วยผืนป่าอนุรักษ์ 3 แห่ง ได้แก่  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าด้านตะวันออก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ครอบคลุมพื้นที่กว้างใหญ่ถึง 6,222 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,888,875 ไร่  อยู่ภายในเขตจังหวัดอุทัยธานี จังหวัดตาก จังหวัดกาญจนบุรี เป็นป่าอนุรักษ์ที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงที่สุดของประเทศไทย ซึ่งผู้มีส่วนสำคัญในการอนุรักษ์เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้งแห่งนี้ คือ คุณสืบ นาคะเสถียร
    มีอาณาเขตทอดยาวอยู่บนแนวเทือกเขาถนนธงชัยเชื่อมต่อกับตอนเหนือของเทือกเขาตะนาวศรี พื้นที่ส่วนใหญ่จึงเป็นภูเขาสลับซับซ้อนและเป็นต้นธารของแม่น้ำแควใหญ่และแควน้อย เป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภูมิศาสตร์ ถึง ๔ เขต รวมทั้งเป็นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่อุดมสมบูรณ์ (77% ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ 50% ของนก และ 33% ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์) โดยที่ราบฝั่งตะวันออกในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เป็นบริเวณที่โดดเด่นที่สุด เป็นตัวแทนระบบนิเวศป่าเขตร้อนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความอุดมสมบูรณ์และปลอดภัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
มรดกโลกในอาเซียน (4)
นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์
      นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ที่เกาะลูซอนตอนเหนือของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์  โดยชาวพื้นเมืองอิฟูเกา (Ifugao) ที่สร้างนาขั้นบันไดแห่งนี้มากว่า 2,000 ปีแล้ว ด้วยเครื่องมือที่เรียบง่ายและแรงงานคน ซึ่งลูกหลานชาวนาสืบเชื้อสายมาจากชาว Ifugao ในปัจจุบันก็ยังคงยึดอาชีพทำนาเช่นเดียวกับบรรพบุรุษของพวกเขา โดยความรู้นี้ได้ถูกส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น และ การแสดงออกของประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ และความสมดุลของสังคมที่ละเอียดอ่อน ได้ช่วยกันสร้างสรรค์ความงามของภูมิทัศน์ ซึ่งแสดงถึงความกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
      จุดเด่นของที่นี่ คือเป็นสุดยอดทั้งในเรื่อง "ความสูง" เนื่องจากอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 1,500 เมตร และ "ความเอียงของพื้นที่" จุดที่ลาดชันมากที่สุดเอียงถึง 70 องศา และครอบคลุมพื้นที่กว่า 10,000 ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีระบบการทำเขื่อนกั้นน้ำและการระบายน้ำที่ซับซ้อน โดยใช้เพียงท่อที่ทำจากไม้ไผ่เป็นตัวกั้นน้ำให้ผืนนาขั้นบันไดทั้งหมดมีน้ำท่วมขังเพียงพอสำหรับการทำนาข้าวอันน่าทึ่งนี้ได้ตลอดมา
     นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์ ได้รับการลงทะเบียนมรดกโลก ในปี พ.ศ. 2536
มรดกโลกในอาเซียน (5)
กลุ่มวัดบรมพุทโธ (Borobuder Temple Compounds)
      มหาสถูปบุโรพุทโธ หรือ บรมพุทโธ (ภาษาอินโดนีเซีย: Chandi Borobudur) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ในภาคกลางของเกาะชวา โดยบุโรพุทโธเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธนิกายมหายาน ถ้าไม่นับนครวัดของกัมพูชาซึ่งเป็นทั้งศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและศาสนาพุทธ บุโรพุทโธจะเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธที่ใหญ่ที่สุดในโลก
     บุโรพุทโธถูกสร้างขึ้นโดยกษัตริย์แห่งราชวงศ์ไศเลนทร เป็นสถูปแบบมหายาน สันนิษฐานว่าสร้างในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7-9 หรือ พุทธศักราช 1393 ตั้งอยู่ทางภาคกลางของเกาะชวา บนที่ราบเกฑุ  ทางฝั่งขวาใกล้กับแม่น้ำโปรโก ห่างจากยอกยาการ์ตา ทางตะวันตกเฉียงเหนือ 40 กิโลเมตร บุโรพุทโธสร้างด้วยหินภูเขาไฟประมาณ 2 ล้านตารางฟุตบนฐานสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 121 เมตร สูง 403 ฟุต เป็นรูปทรงแบบปิรามิด มีลานเป็นชั้นลดหลั่นกัน 8 ชั้น และใน 8 ชั้นนั้น 5 ชั้นล่างเป็นลาน 4 เหลี่ยม 3 ชั้น บนเป็นลานวงกลม และบนลานกลมชั้งสูงสุดมีพระสถูปตั้งสูงขึ้นไปอีก 31.5 เมตร เป็นมหาสถูปที่ระเบียงซ้อนกันเป็นชั้นๆลดหลั่นกันไป
     บุโรพุทโธ ได้รับการลงทะเบียนมรดกโลก ในปี พ.ศ. 2534
การจัดการภัยพิบัติกับอาเซียน
disaster01
          ภาวะอุทกภัย พายุมรสุม พายุไต้ฝุ่น แผ่นดินไหว และภูเขาไฟระเบิด เป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเป็นประจำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อประเทศที่ประสบภัยพิบัติ จึงได้เกิดการลงนามในปฏิญญาอาเซียนและจัดตั้ง คณะกรรมการจัดการพิบัติภัยอาเซียน (ASEAN Committee on Disaster Management - ACDM)” เมื่อต้นปี พ.ศ. 2546 ประกอบด้วยตัวแทนจากรัฐสมาชิกอาเซียนในระดับหัวหน้าหน่วยงานหรือองค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพิบัติภัยต่างๆ ทั้งที่เกิดโดยธรรมชาติและที่เกิดโดยมนุษย์ มีหน้าที่รับผิดชอบประสานจัดการงานทุกอย่างที่เกี่ยวข้องในอาเซียนในเรื่องการช่วยเหลือและฟื้นฟูเหตุวินาศภัยต่างๆที่เกิดขึ้นในภูมิภาค
          ซึ่งในปี พ.ศ. 2555 ประเทศไทยได้รับมอบตำแหน่งประธาน ACDM โดยมีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก
อาหารยอดนิยมในอาเซียน (6)

"หล่าเพ็ด" (Lahpet)
อาหารยอดนิยมของพม่า
       หล่าเพ็ด คือ ใบชาหมักทานกับเครื่องเคียง เช่น กระเทียมเจียว ถั่วชนิดต่างๆ งาคั่ว กุ้งแห้ง ขิง มะพร้าวคั่ว เป็นต้น จัดว่าเป็นอาหารว่างคล้ายกับยำเมี่ยงคำของไทย หล่าเพ็ดถือว่าเป็นอาหารที่ขาดไม่ได้ในโอกาสพิเศษหรือเทศกาลสำคัญๆ รวมทั้งงานเลี้ยงหรืองานเฉลิมฉลอง
สะพานมิตรภาพไทย-ลาว : ประตูการค้าอาเซียน
         สะพานมิตรภาพไทย-ลาว สะพานข้ามแม่น้ำโขงขนาดใหญ่แห่งแรก เป็นสะพานที่สร้างความสัมพันธ์ไทย-ลาว ให้กระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งในปัจจุบันมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แล้ว 3 แห่ง คือ
        สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งแรก เชื่อมต่อเทศบาลหนองคายเข้ากับบ้านท่านาแล้ง นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว เปิดใช้เมื่อปี 2537
        สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) เชื่อมต่อจังหวัดมุกดาหารกับแขวงสะหวันนะเขต ประเทศลาว เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางเศรษฐกิจตะวันตกและตะวันออก เริ่มจากพม่า ไทย ลาว และสิ้นสุดที่เวียดนาม เปิดใช้เมื่อปี 2550
        สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 3 (นครพนม-คำม่วน) เชื่อมต่อจังหวัดนครพนมกับแขวงคำม่วน ประเทศลาว เป็นสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างไทย ลาว เวียดนามและภาคใต้ของจีน เปิดใช้เมื่อปี 2554
          กฎบัตรอาเซียนข้อ 34 บัญญัติว่า “The working language of ASEAN shall be English” “ภาษาที่ใช้ในการทำงานของอาเซียน คือ ภาษาอังกฤษดังนั้นภาษาอังกฤษจึงเป็นเครื่องมืออันดับหนึ่งสำหรับพลเมืองอาเซียน ในการสื่อสารสร้างความสัมพันธ์สู่ภูมิภาคอาเซียน ภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษาที่สองของชาวอาเซียน เคียงคู่ภาษาที่หนึ่งอันเป็นภาษาประจำชาติของแต่ละคน
          ในปี พ.ศ. 2558 แรงงานมีฝีมือหรือมีทักษะและนักวิชาชีพทั้งหลายจะสามารถเดินทางข้ามประเทศในภูมิภาคอาเซียนไปหางานทำได้สะดวกมากขึ้นและจะทำได้โดยเสรี หมายความว่า คนจากประเทศอื่นในอาเซียนก็จะสามารถมา สมัครงาน หางานทำ หรือแย่งงานเราไปทำได้ เพราะมีคุณสมบัติตามมาตรฐานวิชาชีพอาเซียน ในเรื่องนี้เองที่ภาษาอังกฤษจะเป็นมาตรฐานกลางที่สำคัญอันจะนำไปสู่การเรียน การฝึกฝนอบรมในทักษะวิชาชีพต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ดังนั้นคนไทยทุกคนจึงจำจะต้องเรียนรู้และใช้ภาษาอังกฤษให้ได้และให้ดีไม่แพ้ชาวชาติอื่นๆในอาเซียน หากทำได้อย่างน้อยก็จะเป็นการปกป้องโอกาสในการทำงานในประเทศไทยของเรามิให้เพื่อนอาเซียนมาแย่งงานของเราไปได้ แต่หากเราไม่เก่งทั้งทักษะภาษาและทักษะวิชาชีพเราก็จะหางานทำในประเทศของเราเองสู้คนชาติอื่นไม่ได้ ไม่ต้องพูดถึงเรื่องที่เราจะเข้าไปแข่งขันหางานทำในสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฯลฯ การมีทักษะวิชาชีพเสมอกันในคุณภาพแต่กลับความอ่อนด้อยในเรื่องภาษาอังกฤษก็เป็นจุดอ่อนที่จะทำให้โอกาสการหางานทำในอาเซียนลดลง แม้จะหางานทำในประเทศไทยเองก็ตามก็จะยากมากขึ้น
          ถึงเวลาแล้วที่คนไทยจะต้องพัฒนาตนเองในการเรียนรู้ให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์ในประชาคมอาเซียน ณ วันนี้เป็นต้นไป
จากบทความ "การใช้ภาษาอังกฤษ กับอนาคตของไทยในอาเซียน"  โดย ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล  24 กรกฎาคม 2554
มรดกโลกในอาเซียน (6)

นครประวัติศาสตร์วีกัน (Historic Town of Vigan)
          เมืองวีกันเป็นเมืองริมทะเลด้านตะวันตกของเกาะลูซอน สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ห่างจากซานเฟร์นันโด รวม 140 กม. วีกันเป็นเมืองที่สเปนเคยมาตั้งค่ายไว้ มีบ้านเรือนเก่าแก่ทรงสเปน ที่ยังสภาพสมบูรณ์อยู่มากในเขตเมืองเก่า มีโบสถ์เก่าแก่ และมีตำบลใกล้ๆริมทะเล และยังมีที่พักดั้งเดิมบนตึกเก่าแก่น่าพักอีกมากมายรอบๆ เขตเมืองเก่า ถนนและตึกแบบสเปน วีกันสร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 16 (พุทธศตวรรษที่ 21) เป็นตัวอย่างของการวางผังเมืองที่ดียุคอาณานิคมสเปนในเอเชีย สถาปัตยกรรมสะท้อนให้เห็นการนำองค์ประกอบทางวัฒนธรรมจากที่อื่นมารวมไว้ที่ฟิลิปปินส์ เช่น จากจีนและจากยุโรปเป็นผลให้เกิดวัฒนธรรมและภูมิทัศน์ของเมืองที่มีเอกลักษณ์เฉพาะในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ ถนนในเมืองนี้จึงอนุญาตเฉพาะรถม้าเท่านั้น
             เมืองวีกันได้รับการลงทะเบียนมรดกโลก ในปี พ.ศ. 2542
วันไข้เลือดออกอาเซียน (DUNGUE DAY)
             
         ไข้เลือดออก เป็นโรคประจำถิ่นที่อยู่กับสังคมไทย และมีแนวโน้มระบาดเพิ่มขึ้น โดยมียุงลายที่มีเชื้อไวรัสเดงกี เป็นพาหนะนำโรค ยุงลายมักออกหากินตอนกลางวัน อาศัยและวางไข่ทั่วไปในที่ๆ มีน้ำขัง ไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้นที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก ประเทศในแถบร้อนชื้นหลายประเทศของเอเชียก็มีปัญหาในการควบคุมโรคนี้เช่นกัน เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศที่เหมาะสมต่อการเกิดยุงลาย และช่วงฤดูฝนเป็นช่วงที่เกิดโรคมากที่สุด ดังนั้นในปี 2554 กลุ่มประเทศอาเซียนกำหนดให้วันที่ 15 มิถุนายน ของทุกปีเป็น ASEAN Dengue Day (วันไข้เลือดออกอาเซียน) และในปีนี้ประเทศที่มีรายงานผู้ป่วยมากที่สุดคือฟิลิปปินส์ 28,163 ราย รองลงมาไทย 14,045 รายดังนั้นกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ และกรุงเทพมหานคร จัดกิจกรรมส่งเสริมการเฝ้าระวังป้องกันโรคจัดการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในจังหวัด อำเภอ ตำบล โรงเรียนโรงพยาบาลและชุมชนให้สะอาด ปราศจากแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ภายใต้ Theme : Big Cleaning Day “เก็บให้เกลี้ยง ไม่เลี้ยงยุงลายพร้อมเผยแพร่ข่าวสารเพื่อกระตุ้นให้ทุกครัวเรือนหันมาดูแลเอาใจใส่บ้านเรือน จัดการสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
            สำหรับสัญลักษณ์ของวันไข้เลือดออกอาเซียน เป็นตราสัญลักษณ์ที่กลุ่มประเทศในอาเซียนคัดเลือกมาจากประเทศต่างๆ ที่ส่งเข้ามาประกวด ซึ่งตราสัญลักษณ์ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นของ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (ประเทศไทยได้ที่ 2) เป็นรูปเกลียวของเส้นไหม ที่สื่อถึง ประชาชนจับมือร่วมกัน ร่วมมือกัน ไล่ยุงลายให้ออกไปจากประคมอาเซียน
สรุปการประชุมรัฐมนตรีวัฒธรรมอาเซียน
AMCA
          ในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะ(ASEAN Ministers Responsible for Culture and the Arts - AMCA) ครั้งที่ 5 ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 24-25 พ.ค. 2555 มีการประชุมรัฐมนตรีวัฒนธรรมอาเซียนแล้ว พร้อมรัฐมนตรีวัฒนธรรมประเทศคู่เจรจา +3 (AMCA+3) (จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี) และการประชุมรัฐมนตรีวัฒนธรรมอาเซียนและจีน (AMCA+China)
          โดย นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นผู้แทนจากประเทศไทยเข้าร่วมประชุม กล่าวว่าในที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนได้เห็นชอบกับการส่งเสริมความร่วมมืออาเซียนในด้านวัฒนธรรมและศิลปะ โดยเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การปกป้องและส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมอาเซียน ส่งเสริมการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้านวัฒนธรรม รวมทั้งอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ อีกทั้งมีเยาวชนเข้าร่วมประชุมเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องเน้นการมีส่วนร่วมของเยาวชนในงานวัฒนธรรมโดยผ่านช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสื่อสังคมสมัยใหม่ ได้แก่ เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์ รวมทั้งงานอาสาสมัครทางวัฒนธรรม, วิสาหกิจทางวัฒนธรรม การแลกเปลี่ยนระดับประชาชน และกิจกรรมเชื่อมโยงอื่นๆ
          ในส่วนของประเทศไทย ได้กล่าวสนับสนุนบทบาทของวัฒนธรรมในการสร้างอาเซียนให้เป็นสังคมแห่งความเอื้ออาทรและการแบ่งปัน นอกจากอาเซียนได้เน้นเยาวชนเป็นเป้าหมายหลักแล้ว ควรให้ความสำคัญกับบทบาทของผู้สูงอายุในการถ่ายทอดและส่งผ่านคุณค่าทางวัฒนธรรมสู่คนรุ่นเยาว์ด้วย ทั้งนี้ ครอบครัวเป็นหน่วยเล็กๆ ในสังคมที่จะเป็นพลังสำคัญในการผลักดันความสำเร็จของการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจ ดังนั้นการสร้างความเข้มแข็งและส่งเสริมคุณค่าของครอบครัวจะช่วยสนับสนุนการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมเช่นกัน
เหตุไฟป่าที่อินโดนีเซีย-ผลกระทบต่อไทย
fog2
          เหตุไฟไหม้ป่าที่อินโดนีเซียมักเกิดขึ้นในช่วงมิถุนายน-สิงหาคมของทุกปี และล่าสุดได้เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 15 มิ.ย. 2555 ส่งผลกระทบต่อประเทศใกล้เคียง โดยเฉพาะหมอกควันจากไฟป่าที่ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดผ่านจากเกาะสุมาตราผ่านทะเลอันดามันเข้าสู่ภาคใต้ ทำให้ประเทศใกล้เคียงคือ สิงคโปร์ มาเลเซีย และจังหวัดทางภาคใต้ของไทยได้รับผลกระทบหมอกควัน  ปกคลุมพื้นที่ ทำให้ท้องฟ้ามืดสลัวเนื่องจากหมอกควันบดบังแสงอาทิตย์ ส่งผลต่อทัศนะวิสัยในการเดินทางทั้งทางบกและทางเรือฒ โดยเฉพาะตอนกลางคืนและช่วงเช้า อีกทั้งยังเป็นอันตรายต่อประชาชนในพื้นที่จากฝุ่นละอองในหมอกควัน ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจและปอดอักเสบ อาจทำให้เกิดมะเร็งได้หากได้รับสารพิษมาเป็นเวลานาน อาการผิดปกติมักจะมีอาการแสบตา ตาแดง น้ำมูกไหล เจ็บคอ คออักเสบ ไอ หายใจ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เพื่อเป็นการป้องกันเบื้องต้นควรใช้หน้ากากอนามัย หรือผ้าชุบน้ำพอหมาดๆ ปิดจมูกและปากในกรณีที่อยู่ในพื้นที่หมอกควัน ปิดประตู หน้าต่าง เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นควันเข้าบ้าน หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีหมอกควันปกคลุม โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง คือ เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยภูมิแพ้ หอบหืด งดการรองน้ำฝนไว้อุปโภคและบริโภค และควรปล่อยให้ตกอย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนรองน้ำไว้ใช้
          ในการป้องกันที่ดีที่สุด กลุ่มประเทศในอาเซียนโดยเฉพาะอินโดนีเซียต้องมีมาตรการควบคุม และป้องกันไฟไหม้ป่าที่เกิดขึ้นทุกปี พร้อมสร้างความตระหนักถึงผลกระทบโดยรวมที่เกิดขึ้นในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งสาเหตุ ส่วนใหญ่มักเกิดจากฝีมือของมนุษย์เอง
 งานมหกรรมอาเซียนสัญจร 4 ภูมิภาค และกรุงเทพมหานคร
         กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) โดย NJ Magazine ได้จัดงานมหกรรมอาเซียนสัญจร 4 ภูมิภาคและกรุงเทพมหานคร ในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2555 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเยาวชน ครู บุคลากรทางการศึกษาและผู้บริหารของกระทรวงศึกษาธิการในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558 อย่างมีประสิทธิภาพ
        ในระหว่างการจัดงานอาเซียนสัญจร 4 ภูมิภาค และกรุงเทพมหานคร มีการแข่งขันตอบปัญหาอาเซียน และการแข่งขันเวทีสร้างสรรค์สู่ประชาคมอาเซียน เพื่อคัดเลือกกลุ่มเยาวชนที่มีความพร้อมเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน ซึ่งได้เริ่มการแข่งขันเมื่อวันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม 2555 ที่ผ่านมา และแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศในวันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม 2555 โดยทีมที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นทีมชนะเลิศ และทีมรองชนะเลิศอันดับ 1-3 รวม 4 ทีมจะได้เดินทางไปศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการศึกษาและศิลปวัฒนธรรมที่ประเทศสมาชิกอาเซียน เป็นเวลา 4 วันและ 3 วันตามลำดับ
งานมหกรรมอาเซียนสัญจร 4 ภูมิภาค และกรุงเทพมหานคร
ประเทศไทยกับอาเซียน
           เนื่องด้วยวันที่ 8 สิงหาคม 2555 เป็นวันครบรอบการจัดตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน 45 ปี โดยเมื่อเริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2510 สภาพแวดล้อมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความตึงเครียด อันเป็นผลมาจากสงครามเย็น ซึ่งมีความขัดแย้งด้านอุดมการณ์ ระหว่างประชาธิปไตยกับคอมมิวนิสต์ ในขณะเดียวกัน ความขัดแย้งด้านดินแดนระหว่างประเทศในภูมิภาค ทำให้หลายประเทศเริ่มตระหนักถึงความจำเป็นในการร่วมมือกันระหว่างประเทศในภูมิภาค โดยรัฐมนตรีต่างประเทศ 5 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ มาหารือร่วมกันที่แหลมแท่น จ.ชลบุรี อันนำมาสู่การลงนามในปฏิญญากรุงเทพ เพื่อก่อตั้งอาเซียน ที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ไทยจึงถือเป็นทั้งประเทศผู้ร่วมก่อตั้งและเป็น บ้านเกิดของอาเซียน
          ตลอดระยะเวลา 45 ปีที่ผ่านมา ไทยได้ประโยชน์หลายประการจากอาเซียน ทั้งในแง่การเสริมสร้างความมั่นคงซึ่งช่วยเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยในปัจจุบันอาเซียนเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย คิดเป็นร้อยละ 19.2 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย ในจำนวนนี้ เป็นการส่งออกจากไทยไปอาเซียนร้อยละ 20.7ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลมาตลอด ประกอบกับการขยายความร่วมมือเพื่อเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เส้นทางคมนาคม ระบบไฟฟ้า โครงข่ายอินเตอร์เน็ต ฯลฯ ยังช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้าและการลงทุนให้กับไทย โดยขยายตลาดให้กับสินค้าไทยสู่ประชาชนอาเซียนเกือบ 600 ล้านคน และเป็นแหล่งเงินทุนและเป้าหมายการลงทุนของไทย ซึ่งไทยจะได้เปรียบประเทศสมาชิกอื่นเพราะมีที่ตั้งอยู่ใจกลางอาเซียน สามารถเป็นศูนย์กลางทางการคมนาคมและขนส่งในภูมิภาค
          ในอนาคต คนไทยจะได้รับประโยชน์จากการรวมตัวเป็นประชาคมของอาเซียนมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับการเตรียมความพร้อมของเรา ดังนั้นการสร้างความตื่นตัวและให้ความรู้กับประชาชนจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้ตระหนักถึงโอกาสและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันซึ่งจะช่วยให้คนไทยได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบในทางลบแก่ภาคส่วนต่าง ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น